TUKEMD

__TUKEMD__ชื่อบ้าน อ่านว่า ตุ๊ก-เอ็ม-ดี นะจ๊ะ เป็นชื่อในเน็ตของแม่ตุ๊กเองค่ะ

บ้านหลังน้อย หลังนี้เป็นของแม่ตุ๊ก,น้องมะปราง และ คุณป๋า

เป็นบล็อกเพื่อบันทึกความสุข ความทรงจำ ในการท่องเที่ยวที่ต่างๆของครอบครัวเราค่ะ



2566/04/19

Pahalgam (หมู่บ้านพาฮาลแกม หุบเขาคนเลี้ยงแกะ ทุ่งดอกมัสตาร์ด สวนแอปเปิ้ล)

 วันพุธที่ 12 เมษายน 2566

เวลา 23:30 น.เดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิ เช็คอินที่เค้าท์เตอร์สายการบิน Spicejet ซึ่งเป็นสายการบินโลว์คอส ที่นั่งจะเป็นแบบสุ่มทำให้เราสามคนต้องนั่งแยกกันหมดเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดินทางมา คงจะไม่ใช้บริการสายการบินนี้อีกแล้วค่ะ เราจะได้ตั๋วคนละ 2 ใบเพื่อต่อเครื่องไปถึงเมืองศรีนาคา

วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2566

เวลา 02:30 น.เดินไปรอขึ้นเครื่องที่เกท เที่ยวบิน SG 88 ออกเดินทางไปนิวเดลีเวลา 03:50 น.

เครื่องมาจอดรออยู่แล้ว เป็นเครื่องบินลำเล็กและค่อนข้างเก่า

 ใช้เวลาในการบินประมาณ 4 ชม. หลับๆตื่นๆได้ไม่นาน ตอนนี้พวกเราก็บินอยู่เหนือเมืองนิวเดลีแล้วค่ะ

ที่นั่งบนเครื่องเป็นแบบ 3-3 ต้องนั่งแยกกันหมดเลย แต่บินไม่นานพอทนได้ค่ะ

ด้านล่างคือนิวเดลี เมืองหลวงประเทศอินเดีย

เวลา 7:00 น. เครื่องก็ลงจอดที่สนามบินนานาชาติ Indira Gandhi International Airport (DEL)
เวลาที่อินเดียช้ากว่าไทย 1.5 ชม.

นั่ง Shuttle Bus เข้ามาที่ TERMINAL 3 อาคารใหม่ ใหญ่และสะอาด มีมือพระพุทธรูปอยู่ที่ผนังโดดเด่น

เข้าไปผ่าน ตม. ใช้เวลาไม่นาน (คนไทยต้องทำวีซ่าด้วยค่ะ พวกเราทำ e-Tourist Visa valid 30 days)

ผ่าน ตม.เสร็จก็ไปรอรับกระเป๋าอีกร่วมครึ่ง ชม. แล้วไปผ่านจุดตรวจตั๋วเพื่อต่อเครื่องในประเทศ

เดินลากกระเป๋ามาที่ Terminal 2 ตรวจและโหลดกระเป๋าอีกครั้ง 
ก่อนจะเข้าเกท ผู้โดยสารทุกคนจะโดนตรวจ โดยผู้หญิงจะมีห้องแยกต่างหาก พวกเราจะเอาของทุกอย่างเครื่องประดับ โลหะ ใส่กระเป๋าไปสแกน แล้วเข้าห้องตรวจโดยมีเฉพาะเสื้อผ้าที่ใส่ จะได้ผ่านแบบรวดเร็ว

ด้านข้างคือ Terminal 3 อาคารที่เครื่องลงเมื่อเช้าค่ะ

ตัวอาคารสนามบินในประเทศสะอาดและใหม่

เวลา 9:45 น. ออกเดินทางไปเมืองศรีนาคา แคชเมียร์ ด้วยสายการบิน Spicejet เที่ยวบิน SG 8963
เครื่องลำนี้เล็กเหมือนเดิมแต่ใหม่ดีค่ะ เราสามคนต้องนั่งแยกกัน โชคดีที่แม่ตุ๊กกับมปได้นั่งริมหน้าต่าง

เวลา 11:00 น.เครื่องบินก็เข้าสู่ดินแดนแคชเมียร์ มองออกไปด้านนอกจะเห็นเทือกเขาหิมาลัย

ยอดเขาปกคลุมด้วยหิมะสวยมากๆ

ภาพที่มองด้วยสายตาสวยกว่าภาพถ่ายหลายเท่า

กระจกเครื่องบินไม่สะอาด ภาพเลยไม่ค่อยชัด

ภาพเทือกเขาหิมาลัยมุมสูงนี้เป็นความประทับแรกในดินแดนแคชเมียร์เลยค่ะ


บินผ่านเทือกเขาเข้าสู่ตัวเมืองในหุบเขา มองเห็นทุ่งดอกมัสตาร์ดสีเหลืองด้วยค่ะ

ดินแดนแคชเมียร์ แบ่งเป็นเขตใหญ่ ๆ 3 เขต คือ ลาดักห์ จัมมู และศรีนาคา

เวลา 11:30 น.เครื่องบินก็ลงจอดที่สนามบินศรีนาคา ใช้เวลาในการบินประมาณ 1.5 ชม.
 Srinagar Airport or Sheikh ul-Alam International Airport (SXR)

ที่สนามบินนี้มีอาคารเดียวมีทหารอยู่ทั่วทุกมุม รอรับกระเป๋าแล้วก็เดินออกไปด้านนอกได้เลยค่ะ

Srinagar Airport is located in Badgam, 12 km north of Srinagar city center. 
It has a single passenger terminal. 

เวลา 12:00 น. ออกมารอรถพร้อมคนขับที่ด้านนอกอาคาร อากาศร้อนมากๆค่ะ
ระหว่างยืนรอ จะมีคนมาเสนอราคารถนำเที่ยวมากมาย พอรถพวกเรามาก็ออกเดินทางกันเลย 

เวลา 12:30 น. แวะทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารของโรงแรมในเมืองศรีนาคา


รถที่ใช้สำหรับการเดินทางในแคชเมียร์เป็นรถเทมโป ไม่มีแอร์ค่ะ ด้านในกว้างนั่งสบายดี
 ด้านหลังเป็นที่วางกระเป๋าใบใหญ่ได้หลายใบ

โรงแรมและห้องน้ำสะอาด


มื้อเที่ยงเป็นบุฟเฟ่ต์อาหารท้องถิ่น รสชาติพอทานได้ค่ะ

ที่แคชเมียร์เราจะไม่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ การซื้อซิมค่อนข้างยุ่งยากสำหรับนักท่องเที่ยวเพราะสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่สงบ บางโรงแรมอาจมีฟรีไวไฟ

เวลา 13:30 น.ออกเดินทางไปเมืองพาฮาลแกม (Pahalgam)
 ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองศรีนาคาไปทางทิศตะวันออกประมาณ 90 กม.

ดินแดนทางตอนเหนือนี้จะเรียกรวมๆว่า "จัมมู-แคชเมียร์"

จัมมู เป็นเมืองหลวงในฤดูหนาวของแคชเมียร์ ล้อมรอบด้วยทุ่งหญ้าและที่ราบตามเชิงเขา 
มีระดับความสูงจากน้ำทะเล 300 จึงเป็นแหล่งที่เหมาะสำหรับมาหลบความหนาวเย็น
ส่วนศรีนาคาเป็นเมืองหลวงในฤดูร้อน ที่ตั้งอยู่บนระดับความสูง 1,730 เมตร

Srinagar is the summer capital of Jammu and Kashmir state, a sensitive region of India which used to be in conflict several times in the past and nowadays is enjoying of a calm period under heavy security measures. Government recommendations for foreigners are to remain in tourist areas as security in remote areas cannot be fully guaranteed.

เส้นทางระหว่างเมืองศรีนาคาไปพาฮาลแกมเป็นทุ่งหญ้าล้อมรอบด้วยเทือกเขา

วิวสวยเหมือนยุโรปเลยค่ะ

บนทางหลวงจะมีด่านทหารเกือบทุก กม.


ร้านขายผลไม้ริมถนน ตั้งขายกันกลางแดดเลยค่ะ

เวลา 14:30 น.เดินทางมาถึงเมืองแพมพอร์จังหวัดพุลวามา เมืองนี้มีการปลูกหญ้าฝรั่นจำนวนมาก
 Pampore known as the saffron town of Kashmir in Pulwama district of Jammu and Kashmir.

Saffron is a highly coveted spice and is often considered to be more valuable than gold.
One of the most expensive spices in the world, saffron is also referred to as "Red Gold".
The three components of each flower (petals, yellow strands, and red threads) are arranged in order of importance. Pure saffron is extracted from the red strands.

หญ้าฝรั่นจะออกดอกให้ผลผลิตเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ของทุกปี
มีช่วงระยะเวลาให้เก็บเกี่ยวประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังผลิดอก การเก็บเกี่ยวต้องทำด้วยมือเท่านั้น 
และหลังจากเก็บเกี่ยวจะต้องนำมาคั่วให้แห้งภายในวันเดียวกันกับการเก็บเกี่ยว
 ต้องเก็บในที่ทึบแสง และห้ามสัมผัสกับอากาศ เพื่อคงความสมบูรณ์มากที่สุด 
หญ้าฝรั่น 10 กรัม เป็นผลผลิตจากดอกหญ้าฝรั่นประมาณ 3,000 ดอก 

ราคาของหญ้าฝรั่นคุณภาพดี 1 กิโลกรัมจากเมือง Pampore มีมูลค่าสูงประมาณ 100,000 บาท

เข้าห้องน้ำ ซื้อขนมและถั่วอินเดียไปทานบนรถ (10 ถุง 20 รูปี)

เวลา 15:30 น.ออกเดินทางต่อ วันนี้รถติดมากเพราะมีขบวนรถทหารใช้เส้นทางหลวง รถทุกคันต้องจอดรอจนขบวนรถผ่านหมดถึงจะออกรถได้ พวกเราเจอไปหลายขบวนเลยเสียเวลาเป็นชั่วโมง

National Highways Authority of India

ทุ่งมัสตาร์ดสีเหลืองสวยมาก

เวลา 17:00 น. เดินทางมาถึงเมืองอนันตนาค (Anantnag) ห่างจากศรีนาคา 53 กม.

 Anantnag district is located at a distance of 53 kilometres from the union territory's capital Srinagar. 
It is the third largest city in Jammu and Kashmir after Srinagar and Jammu. 

เมืองอนันตนาคเป็นเมืองใหญ่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของจัมมูและแคชเมียร์ รองจากจัมมูและศรีนาคา

Jhelum River and Khanabal Bridge 

ทางขวามือคือมัสยิดนูร์ เป็นมัสยิดใหญ่ประจำเมืองอนันตนาค

Masjid Noor

ออกจากเมืองอนันตนาค ขับรถต่อขึ้นไปทางทิศเหนือโดยใช้เส้นทาง KP road

ทางทิศตะวันออกเป็นแนวเทือกเขาหิมาลัย

สองข้างทางเต็มไปด้วยทุ่งมัสตาร์ด

เทือกเขาหิมาลัยโอบล้อมทางทิศเหนือและทิศตะวันออก

วิวสวยมากจนมปต้องขอไปนั่งด้านหน้าเพื่อเก็บภาพเลยค่ะ

The highway from Srinagar to Pahalgam has large mustard fields. 
We are bewitched by the scenic view of blooming mustard flowers. 

เวลา 17:30 น.เข้าสู่เขตเมืองพาฮาลแกม

หมู่บ้านในชนบท ส่วนมากเป็นบ้านไม้ 1-2 ชั้น

Batakote Pahalgam

บริเวณเมืองพาฮาลแกมจะมีลำธารและโขดหินหลายแห่ง

The Panorama โรงแรมริมลำธาร


Langanbal Bridge


มัสยิดอยู่บนเขา

คนเลี้ยงม้าเริ่มพาม้ากลับบ้านเพราะตอนเย็นก็ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวแล้ว


ม้าบางตัววิ่งกลับบ้านเองเลยค่ะ ทำงานมาทั้งวันคงเหนื่อยแล้ว

เวลา 18:00 น. เดินทางมาถึงด่านเก็บเงินเทศบาลเมืองพาฮาลแกม

Welcome to Pahalgam : Municipal Toll Plaza Pahalgam

รถทุกคันที่เข้ามาในเขตเทศบาลพาฮาลแกมต้องจ่ายค่าผ่านทางตามขนาดรถ

ขับต่อไปตามทางเลียบแม่น้ำ

ทางซ้ายมือมีโรงแรมหลายโรงเลยค่ะ

Jamia Masjid Pahalgam

อากาศด้านนอกเริ่มเย็น

แม้จะเริ่มมืดแต่บนยอดเขายังมีแสงอาทิตย์สว่างจ้า



เวลา 18:30 น.เดินทางมาถึงตัวเมืองพาฮาลแกม 

คนขับรถไปจอดรถที่ลานจอดรถแล้วให้พวกเราเดินเล่นชมวิวในตัวเมือง

ฉากหลังเป็นเทือกเขาหิมาลัยใหญ่อลังการมากค่ะ

เดินออกมาถ่ายรูปตรงทางเข้า

ด้านหลังคือโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำอยู่ติดกับแม่น้ำ

แม่ตุ๊กอยากลงไปเดินเล่นที่ริมแม่น้ำแต่หาทางลงไม่เจอค่ะ

แม่น้ำไหลผ่านกลางเมืองและมีเทือกเขาล้อมรอบ

ตามป้ายพาฮาลแกมอยู่ห่างจากศรีนาคา 98 กม.ปกติจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 2.5-3 ชม.
แต่วันนี้รถติดมากและมีการซ่อมทางหลายแห่ง พวกเราเลยใช้เวลาถึง 5 ชม.

 Jehlum River

แม่น้ำสายสำคัญของเมืองพาฮาลแกม

เดินย้อนกลับไปที่ลานจอดรถ


ด้านล่างคือลานจอดรถ ตอนนี้ใกล้ค่ำไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวแล้วค่ะ

มีบริการขี่ม้าอยู่ที่ลานจอดรถ

ค่าขี่ม้าแคระชมวิวในเมืองพาฮาลแกม ราคาคนละ 650-4500 รูปี ตามระยะทาง

เจ้าของม้าบอกว่าใช้เวลาในการขี่ประมาณ 1-2 ชม. 
พวกเราเลยไม่ขี่ค่ะเพราะจะมืดแล้วกลัวอันตรายแล้วก็สงสารม้าด้วยแต่ละตัวดูอ่อนล้า

คุณป๋าพาไปเดินเล่นริมแม่น้ำ


ด้านหลังมีสะพานข้ามแม่น้ำ

เดินขึ้นไปถ่ายรูปบนสะพานกันค่ะ


The Lidder (Liddar) river situated in the Kashmir Valley of Jammu and Kashmir.

The Liddar originates from the Kolahoi Glacier at an elevation of 4653 meters and runs through an alpine meadow Lidderwat. 

It is a 73 km long river.

แม่น้ำลิดดาร์เป็นแม่น้ำสายสำคัญของเมืองพาฮาลแกม มีความยาว 73 กม.

บริเวณนี้น้ำน้อย มีชาวบ้านลงไปเล่นน้ำด้วยค่ะ

Lidder River is an important river in Kashmir valley. 

It is the second major tributary of Jhelum River, Sind River being the first one. Lidder meets Jhelum in Gurnar Khanabal village at a height of 1615 meters from sea level.

แม่น้ำนี้มีต้นกำเนิดมาจากกลาเซียร์ Kolahoi บนยอดเขาสูง


Pahalgam is situated in the center of Lidder Valley.

เมืองพาฮาลแกมตั้งอยู่ในหุบเขามองไปรอบๆเป็นเทือกเขาสูง

ทางฝั่งขวามือคือมัสยิดและโรงแรมตั้งอยู่ริมแม่น้ำ

บริเวณเชิงเขาก็มีหลายโรงแรม

ม้าแคระถูกล่ามไว้ริมถนน

ไปเดินเล่นในตลาดยามเย็นกันค่ะ

เป็นตลาดที่มีฉากหลังสวยงามมาก

มีโรงแรมเล็กๆอยู่ในตลาดหลายโรงแรม

ประชากรในรัฐจัมมูและแคชเมียร์นับถือศาสนาอิสลามมากกว่า 60% 
และเป็นรัฐเดียวในอินเดียที่มีชาวมุสลิมเป็นชนกลุ่มใหญ่

พวกเรามาช่วงถือศีลอด ตอนนี้พระอาทิตย์ตกดินแล้วในตลาดเลยมีคนมาจับจ่ายซื้อของมากมาย

สินค้าราคาไม่แพงพอๆกับเมืองไทย

ร้านขายผลไม้เยอะมาก แม่ตุ๊กขอแวะซื้อผลไม้ไปทานที่โรงแรม

ข้ามถนนไปเดินเล่นที่ตลาดตรงเชิงเขา


ด้านหลังตลาดเป็นเนินเขา

อากาศเย็นๆวิวสวยๆ


ด้านบนนี้ส่วนมากเป็นร้านเสื้อผ้าและร้านขายของที่ระลึก




ตอนนี้อยู่ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูใบไม้ผลิ อากาศในพาฮาลแกมเลยยังหนาวอยู่

ร้านอาหารพื้นเมืองตั้งโต๊ะนั่งทานกันริมถนนเลยค่ะ

ซื้อของเสร็จก็เดินกลับมาขึ้นรถ คนขับรออยู่แล้วค่ะ

ท้องฟ้าเริ่มมืดแต่ยอดเขายังมีแสงส่อง

เวลา 19:30 น. เดินทางกลับที่พัก ขับรถย้อนกลับทางเดิม

เมื่อตอนเย็นพวกเราขับผ่านจุดชมวิวริมแม่น้ำ ขากลับเลยขอให้คนขับแวะถ่ายรูปนิดค่ะ

Love Pahalgam View Point

มาถึงมืดแล้วแสงน้อย ถ่ายรูปไม่ค่อยชัด

แม่น้ำช่วงนี้มีน้ำเยอะดีค่ะ

อากาศตอนนี้หนาวมากถ่ายรูปสักพักก็ออกเดินทางต่อ

เวลา 20:30 น.เดินทางมาถึงที่พัก Hotel Royale Comfort Pahalgam อยู่ห่างจากตลาดประมาณ 10 กม.

เช็คอินแล้วเอากระเป๋าไปเก็บที่ห้อง รีบมาทานอาหารเย็นที่ห้องอาหารของโรงแรม
มื้อนี้เป็นบุฟเฟ่ต์อาหารท้องถิ่นเหมือนเดิมค่ะ

ทานอาหารเสร็จก็กลับห้องพัก เป็น Deluxe room ต้องเพิ่มเบาะเสริม มีแอร์ ฟรีไวไฟแต่ช้ามาก
วันนี้พวกเราเหนื่อยสุดๆเลยรีบอาบน้ำและพักผ่อนค่ะ (น้ำเย็นมากไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น)

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน 2566
เวลา 6:00 น.พระอาทิตย์ขึ้นพร้อมกับอุณหภูมิด้านนอก 1 องศา

เปิดหน้าต่างรับอากาศเย็นสดชื่นมาก

เวลา 7:00 น.อาบน้ำแต่งตัวออกไปทานอาหารเช้า แวะชมวิวที่ระเบียงห้องอาหาร


ทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารเป็นบุฟเฟ่ต์ค่ะ

ทานเยอะนิดเพราะวันนี้ต้องไปขึ้นเขากันค่ะ

ทานอาหารเสร็จด้านนอกก็เริ่มมีแดดยามเช้า

วิวจากระเบียงด้านหลังโรงแรม

สวนแอปเปิ้ลและทุ่งมัสตาร์ด

บริเวณรอบๆนี้เป็นที่ตั้งของหลายโรงแรม




สวนด้านหน้าโรงแรม

วิวเทือกเขาสวยๆ

เก็บภาพหน้าโรงแรม

เวลา 8:00 น.เช็คเอ้าท์จากโรงแรมแล้วออกเดินทางกันค่ะ

แม่น้ำลิดดาร์


ออกจากโรงแรมมาไม่ไกล คนขับแวะให้พวกเราลงไปถ่ายรูปทุ่งดอกมัสตาร์ดริมทางค่ะ

We can see the yellow bloom across Kashmir especially along the national highway.

ทุ่งมัสตาร์ดปลูกโดยชาวบ้านในแถบนี้เพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ด 

ช่วงนี้ดอกกำลังบานเต็มที่รอการเก็บเกี่ยว 

พวกเราเดินเข้าไปถ่ายรูปได้ฟรีค่ะ เดินตามทางคันดินโดยไม่เหยียบทำลายต้นไม้

ดอกไม้ผลิบานเต็มทุ่งในช่วงเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ

After the winter, the bloom of yellow flowers also came as an announcement for the summer.

Mustard in Kashmir is an annual crop.The mustard crop is sown in October-November.

 As temperatures rise after winter, the mustard crop blossoms 
and it is harvested in the last week of April towards the end of May. 

ต้นมัสตาร์ตจะถูกหว่านในเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นหลังจากฤดูหนาวผ่านไป ต้นมัสตาร์ตเหล่านี้ก็จะออกดอกผลิบานและเก็บเกี่ยวในช่วงปลายเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม

Mustard fields and backgound of Moutains

Identifying the potential of the mustard, the cultivation has increased from 30,000 hectares to 1.40 lakh hectares in Kashmir in this year.


ในปีนี้ในดินแดนแคชเมียร์ได้เพิ่มการปลูกต้นมัสตาร์ดจาก 30,000 เฮกตาร์ เป็น 140,000 เฮกตาร์

The mustard plant is any one of several plant species in the genera Brassica and Sinapis in the family Brassicaceae (the mustard family).

มัสตาร์ด เป็นพืชในวงศ์สกุลเดียวกับกะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และผักกาดขาว

 Mustard seed is used as a spice. Grinding and mixing the seeds with water, vinegar, or other liquids creates the yellow condiment known as prepared mustard. 

เมล็ดมัสตาร์ดที่แก่จัดมีขนาด 1-2 มิลลิเมตร จะถูกนำมาบดเป็นผง เมื่อแห้งจะไม่มีกลิ่น
 นำไปใช้เป็นเครื่องเทศหรือนำไปผสมกับน้ำส้มสายชูเพื่อทำมัสตาร์ดก็จะได้รสที่เผ็ดร้อน  

สีของมัสตาร์ดขึ้นกับส่วนผสมเฉพาะที่เติมลงไป สีเหลืองที่เราเห็นนั้นมาจากการใส่ขมิ้นลงไปผสม
เพราะเมล็ดมัสตาร์ดบดจะให้สีเหลืองอ่อนซีด 

The seeds can be pressed to make mustard oil, and the edible leaves can be eaten as mustard greens. Many vegetables are cultivated varieties of mustard plants.

มัสตาร์ดสีดำและขาวมีกำเนิดในแถบยุโรปต่อกับทวีปเอเชีย มัสตาร์ดสีน้ำตาลมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย ส่วนใหญ่จะใช้มัสตาร์ดสีขาวเป็นเครื่องเทศ และมัสตาร์ดชนิดอื่นใช้ผลิตน้ำมันมัสตาร์ด

พวกเรามาช่วงกลางเมษายนดอกกำลังบานเต็มที่ ช่วงปลายเดือนนี้ก็เริ่มจะเก็บเกี่ยวแล้วค่ะ

The mustard flowers become a tourist attraction.


ถ่ายรูปจนแดดเริ่มร้อนก็ออกเดินทางต่อค่ะ

 ขับรถต่อมาอีกประมาณ 10 กม. เข้าสู่เมือง Seer Hamdan, Anantnag 

สองข้างทางเป็นสวนแอปเปิ้ล

เวลา 9:00 น.แวะสวนแอปเปิ้ล Royal Juice Corner, Hassan Abad

ช่วงเช้ายังไม่มีนักท่องเที่ยว เดินเข้าไปชมสวนด้านในกันค่ะ

Apple Garden

สวนนี้เข้าชมฟรีค่ะ

 The most common areas in Kashmir which are known for its apple cultivation are Srinagar, Budgam, Pulwama, Anantnag, Baramulla and Kupwara.

แคชเมียร์เป็นดินแดนที่มีการปลูกแอปเปิ้ลมากที่สุดของอินเดีย

การปลูกแอปเปิ้ลต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี ถึงจะออกผล

แต่ละต้นได้รับการดูแล บำรุงอย่างดี

ดอกเยอะผลแอปเปิ้ลก็จะเยอะด้วย

 The planting is done in the month of January and February as the planting material is usually got from the nurseries which are registered with the government.

ช่วงต้นปีเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตหมดแล้ว ชาวสวนจะเริ่มบำรุงให้ปุ๋ยต้นไม้


สวนที่พวกเรามานี้ ปลูกอยู่ข้างบ้านเจ้าของสวนมีเนื้อที่กว้างพอสมควรและมีรั้วกั้นโดยรอบ


Apple blossom time is from April through to June.

ช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ดอกแอปเปิ้ลจะบานกันเต็มต้นเลยค่ะ

พวกเรามาช่วงกลางเมษายน ดอกแอปเปิ้ลกำลังบานเต็มต้นเลยค่ะ

ดอกสีขาวกลีบบางเหมือนซากุระ มีกลิ่นหอมอ่อนๆ


Apple Season in Kashmir starts from August to September.


 แอปเปิ้ลเริ่มออกผลเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ช่วงนั้นเปิดให้ชมสวนและจำหน่ายแอปเปิ้ล


The main varieties of apples grown in Kashmir valley are Razakwari, Hazratbali, Chemora, Maharaji, American Apple, Delicious Apple and Ambri.



แอปเปิ้ลในแคชเมียร์มี 15 สายพันธุ์ และมี 4 สี คือ เขียว เหลือง แดง และ ชมพู 


เข้ามาชมสวนแล้วก็อุดหนุนน้ำแอปเปิ้ลคนละแก้วค่ะ (คั้นมาสดๆ)

น้ำแอปเปิ้ลแก้วละ 50 รูปี (ประมาณ 20 บาท) รสชาติหวานอมเปรี้ยวนิดๆอร่อยมากค่ะ

Apples are full of fiber and Vitamin C. 

An Apple a day keeps the Doctor away.

ชาวแคชเมียร์บอกว่าแอปเปิ้ลที่ดินแดนนี้อร่อยที่สุดในโลก

 Apple is commercially the most important temperate fruit and is fourth among the most widely produced fruits in the world after banana, orange and grapes.

Kashmiri historian Kalhana’s 12th century chronicle of Kashmir’s kings (Rajtarangini) mentions about apples being grown in the valley and were planted along the paths to provide shade and food to travellers. 

They were also cultivated in fields and slopes and bartered by growers for other products. 





Apple cultivation in India is dominated by Kashmir, which produces 78% of India’s total annual output of around 25-26 lakh metric tonnes.

แอปเปิ้ลเป็นพืชประจำถิ่นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 และมีการปลูกอย่างแพร่หลายเพราะมีอุณหภูมิที่เหมาะสม

ปัจจุบันมีผลผลิตประมาณ 78% ของประเทศ


เดินถ่ายรูปและดื่มน้ำแอปเปิ้ลจนหมดก็ได้เวลากลับแล้วค่ะ

Ambri Kashmir
Ambri is the most popular and considered to be the indigenous production of apple in India grown in Himalayan hills.

ด้านหน้าสวนมีน้ำแอปเปิ้ลคั้นสดและแยมผลไม้จำหน่าย 
ช่วยอุดหนุนชาวสวนแล้วก็ออกเดินทางต่อค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น