TUKEMD

__TUKEMD__ชื่อบ้าน อ่านว่า ตุ๊ก-เอ็ม-ดี นะจ๊ะ เป็นชื่อในเน็ตของแม่ตุ๊กเองค่ะ

บ้านหลังน้อย หลังนี้เป็นของแม่ตุ๊ก,น้องมะปราง และ คุณป๋า

เป็นบล็อกเพื่อบันทึกความสุข ความทรงจำ ในการท่องเที่ยวที่ต่างๆของครอบครัวเราค่ะ



2566/05/02

Taj Mahal and Agra Fort (เข้าชมทัชมาฮาล-พระราชวังอัคราฟอร์ท)

 วันอาทิตย์ที่ 16 เมษายน 2566

เวลา 10:30 น.หลังจากเช็คอินที่สนามบินศรีนาคา ผ่านการตรวจโดยเจ้าหน้าที่สนามบินก็มานั่งคอยที่เกท เดินทางไปเมืองนิวเดลีโดยสายการบิน Spicejet เที่ยวบิน SG 8374 เวลา 11:55-13:35 น.

ใช้เวลาในการบินประมาณ 1.5 ชั่วโมง ตอนนี้พวกเราก็บินอยู่เหนือเมืองนิวเดลีแล้วค่ะ

ด้านล่างคือแม่น้ำยมุนา (Yamuna River)

เวลา 14:00 น. รับกระเป๋าแล้วก็ออกเดินทางต่อค่ะ คนขับรถคอยอยู่ที่ประตูทางออก

เวลา 15:00 น.แวะทานอาหารที่ Waves Restaurant New Delhi

มื้อนี้พวกเราทานอาหารได้ไม่มากเพราะอาการท้องเสียยังไม่หายดี

เวลา 16:00 น.ออกเดินทางไปเมืองอัครา ระยะทางประมาณ 200 กม.

ในเมืองนิวเดลีรถติดและอากาศร้อนมากค่ะ ดีที่รถมีแอร์เย็นสบาย

เวลา 20:00 น.เดินทางมาถึงที่พักในเมืองอัครา "Crystal Sarova Premier,Agra"
 A Premium Hotel Near Taj Mahal , 5-star luxury hotel in Agra.

อาหารเย็นเป็นบุฟเฟต์ ทานที่ห้องอาหารของโรงแรม ตอนนี้พวกเราเริ่มเบื่ออาหารพื้นเมืองแล้วค่ะ
มื้อนี้ขอทานแต่สลัดและขนมหวาน โรงแรมนี้มีชาวยุโรปมาพักเยอะมาก

ทานอาหารเสร็จก็ขึ้นไปห้องพักกันค่ะ ห้องใหญ่และสะอาด
 Deluxe Rooms with extra-bed

มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ ทีวี ตู้เย็น แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ที่สำคัญไวไฟแรงดีค่ะ
อาบน้ำและนอนพักผ่อน

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566
เวลา 6:00 น. ตื่นนอนตอนเช้าด้วยความสดชื่นเพราะเมื่อคืนได้นอนเต็มอิ่ม เตียงนุ่มสบาย

เปิดหน้าต่างแล้วพบกับวิวทัชมาฮาลในหมอก(หรือฝุ่น) อยู่ทางทิศเหนือ เสียดายที่มีทางรถไฟฟ้าขวางอยู่
อัคราเป็นอดีตเมืองหลวงของอินเดียตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมุนา ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย

เวลา 7:00 น.ลงไปทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารชั้นล่างค่ะ ตอนเช้ายังไม่มีคนลงมาเลย

อาหารมีให้เลือกหลากหลายชนิดทั้งอาหารอินเดีย ฝรั่งและจีน

เช้านี้พวกเราหายจากอาการท้องเสียแล้ว ขอทานอเมริกันเบรกฟัสต์มีพนักงานทอดไข่ดาวให้ใหม่ๆค่ะ

เวลา 8:00 น. นั่งรถออกเดินทางไปชมทัชมาฮาลกันค่ะ

ใช้เวลาประมาณ 15 นาทีก็มาถึงลานจอดรถฝั่งตะวันออก 

The Tonga is a single-horse driven ride. A two-wheeled cart is driven by a horse. 
The horses of the Tonga are equally colorful and attractive.

สิ่งของต้องห้ามที่ไม่ให้เอาเข้าไปด้านในมีหลายอย่างตามรูปเลยค่ะ เจ้าหน้าที่เข้มงวดมาก
พวกเราต้องทิ้งของไว้ในรถ เอาเข้าไปได้แต่กระเป๋าสะพายใบเล็กๆเท่านั้น

ทัชมาฮาลอยู่ห่างไปอีก 1 กม.เราจะนั่งรถกอล์ฟเข้าไปด้านในกันค่ะ ห้ามนำรถส่วนตัวเข้ามาในนี้

Golf cart services are provided free of cost with the foreigner's entry ticket of the Taj.

Taj East Gate Rd.
 Shilpgram parking  is about 1200 metres from East Gate.

ข้อแนะนำและคำเตือนก่อนเข้าชมทัชมาฮาล

Hotel Taj Khema

มีร้านขายของที่ระลึกเรียงยาวหลายสิบร้าน

มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ  พวกเราไม่กล้าทานอาหารข้างทางค่ะ เลยซื้อแต่ของที่ระลึก

Eastern Gate (Sirhindi Darwaza)
It is one of the three major entrances to the Taj Mahal Complex.

มาถึงประตุทางเข้าฝั่งทิศตะวันออกแล้วค่ะ มีเค้าท์เตอร์ขายตั๋วอยู่ด้านนอก

 The ticket counter is at East Exterior gate.

Taj Mahal opens 30 Minutes before sunrise and closes 30 Minutes before sunset 
during normal operating days.

Ticket Taj Mahal with Mausoleum + Agra Fort =33 US$

ได้ตั๋วแล้วก็เดินเข้าไปได้เลยค่ะ ทางเข้าแยกเป็นช่องหญิงและชาย มีเจ้าหน้าตรวจตามร่างกายเหมือนที่สนามบินเลยค่ะ ตรวจกระเป๋าอย่างละเอียดของที่ห้ามนำเข้าจะโดนยึดหมด 

ผ่านการตรวจแล้วเอาเข้าได้แค่ มือถือ กล้อง กระเป๋าเงิน ขวดน้ำ
ปล.มองขึ้นไปบนกำแพงรั้วมีลวดหนามกั้นให้ความรู้สึกเหมือนเดินเข้ามาในสถานกักกันเลยค่ะ55

เดินต่อไปตามป้าย

ผนังด้านข้างมีรูปทัชมาฮาลในอดีตติดไว้ให้เราชม


ในนี้มีป้อมทหารหลายจุด

พวกเรามาแต่เช้าตรงทางเข้าคิวเลยไม่ยาว ถ้าสายหรือเย็นคนน่าจะหนาแน่น

ป้ายเตือนให้ระวังลิง

เดินเข้ามาด้านในทัชมาฮาลคอมเพล็กซ์แล้วค่ะ

Fatehabad Gate Courtyard


เดินจากประตูทิศตะวันออกไปตามถนนกลางสวนจะเห็นประตูทางเข้าหลักอยู่ทางขวามือ

มองเห็นโดมของทัชมาฮาลแล้วค่ะ

มีสวนหย่อมขนาบทั้งสองข้างของประตูทางเข้า

The Main Gate stands to the north of the entrance forecourt (Jilaukhana).
 The gate is flanked by double arcade galleries. 

The Main gate was constructed in the year 1632-1638 , which is 93ft high and is 150ft wide.
This gateway is a double storied building built with the use of Red Sandstone.

Darwaza-i Rauza (meaning the gate of the mausoleum) 

ลานกว้างด้านหน้าประตูทางเข้าหลักมีพิพิธภัณฑ์และสวนสีเขียวขนาบทั้งสองข้าง

Plan of The Taj Mahal Complex

เดินผ่านซุ้มประตูเข้าไปด้านในได้เลยค่ะ

ครั้งแรกในชีวิตของพวกเราที่ได้มาเห็นทัชมาฮาลรู้สึกว่าเล็กกว่าที่คิดค่ะ

The view of the Taj Mahal from the main gate.

The main gate is built as creates an optical trick that as you move closer to the gate, the Taj keeps getting smaller and as you walk away it seems bigger in size.

ซุ้มโค้งประตูเป็นมุมมหาชน ไม่มีทางที่จะเก็บภาพแบบไร้คนได้เลยค่ะ

เดินฝ่าฝูงชนออกไปถ่ายรูปด้านนอกกันค่ะ นักท่องเที่ยวส่วนมากเป็นชาวอินเดีย

The main gateway to paradise garden, mosque and the mausoleum.

"ทัชมาฮาล" 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคใหม่

Chaharbagh
The large charbagh (a form of Persian garden divided into four parts) provides the foreground for the classic view of the Taj Mahal. The garden's strict and formal planning employs raised pathways which divide each quarter of the garden into 16 sunken parterres or flowerbeds.

Taj Mahal is One of the New 7 Wonders of the World.

The Taj Mahal Complex occupies an area of some 17-hectare (42-acre), which includes a mosque a guest house and formal gardens bounded on three sides by a crenellated wall.


The Taj Mahal was designated as a UNESCO World Heritage Site in 1983 for being "The jewel of Muslim art in India and one of the universally admired masterpieces of the world's heritage".

ทัชมาฮาลคอมเพล็กซ์มีพื้นที่ 42 เอเคอร์ (ประมาณ 107 ไร่) ทางเดินสู่ตัวอาคารสุสานเป็นสวนขนาดใหญ่ซึ่งแบ่งเป็น 4 ส่วนที่สมมาตรกัน มีสระน้ำและน้ำพุที่ก่อสร้างด้วยหินอ่อนเป็นตัวแบ่ง 

ทัชมาฮาลได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของยูเนสโกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 ในฐานะ "เพชรน้ำเอกของศิลปะมุสลิมในอินเดีย และเป็นหนึ่งในงานชิ้นเอกที่ได้รับการชื่นชมในระดับสากล"

 A raised marble water tank at the center of the garden, halfway between the tomb and the gateway.
A linear reflecting pool on the North-South axis reflect the Taj Mahal.

ตรงกลางสวนมีแท่นน้ำพุหินอ่อนสีขาวตั้งอยู่ด้านหน้าสุสาน เป็นจุดถ่ายรูปที่คนนิยมมาก
จะเห็นว่ามีคนขึ้นไปยืนกันเต็มเลยค่ะเพราะอยู่ตรงกลางสวนพอดี

พวกเราไม่อยากขึ้นไปเบียดเสียดด้านบนเลยลงมาเก็บภาพด้านหน้าแท่นหินอ่อนแทน
แม่ตุ๊กว่ามุมนี้สวยที่สุดไม่มีคนมายืนบังเลยค่ะ

Taj Mahal Mausoleum
It is the central focus of the entire complex. 

มีต้นสนปลูกเป็นแนวเรียงรายทั้งสองข้างของสระน้ำพุ วันนี้ในสระไม่มีน้ำและน้ำพุค่ะ
ถ้ามีน้ำในสระด้านหน้าจะเห็นเงาสะท้อนของทัชมาฮาลสวยมากค่ะ

The Taj Mahal mausoleum is a large, white marble structure standing on a square plinth and consists of a symmetrical building with an iwan (an arch-shaped doorway) topped by a large dome and finial.

Four minarets frame the tomb, one at each corner of the plinth facing the chamfered corners.

สุสานทัชมาฮาลเป็นอาคารหินอ่อนสีขาวขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานยกพื้นสี่เหลี่ยมจตุรัส 
ด้านบนของอาคารประดับด้วยโดมใหญ่ ตัวอาคารทั้ง 4 ด้านล้อมรอบด้วยหออะซาน 

The Taj Mahal was built by Mughal Emperor Shah Jahan in memory of his wife Mumtaz Mahal with construction starting in 1632 AD and completed in 1648 AD.

The mosque, the guest house and the main gateway on the south, the outer courtyard and its cloisters were added subsequently and completed in 1653 AD.

ที่นี่ห้ามนำขาตั้งกล้องและไม้เซลฟี่เข้ามา พวกเราเลยจ้างช่างภาพอินเดียถ่ายรูปหมู่ให้ค่ะ 
ต่อรองราคาได้รูปละ 50 INR

ทัชมาฮาลถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความรักของสมเด็จพระจักรพรรดิชาห์ จาฮานที่มีต่อพระมเหสีของพระองค์(พระนางมุมตัซ มาฮาล) โดยใช้เป็นที่ฝังศพ การสร้างนี้ใช้แรงงานผู้คนมากกว่า 20,000 คน
 กินเวลานานถึง 22 ปี ราชสมบัติส่วนใหญ่ได้สูญเสียไปกับการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของพระองค์ 

The Taj Mahal is a perfect symmetrical planned building, with an emphasis of bilateral symmetry along a central axis on which the main features are placed.

 The building material used is brick-in-lime mortar veneered with red sandstone and marble and inlay work of precious/semi precious stones.

 หออะซาน (Minaret) ในอดีตเป็นที่สำหรับขึ้นไปส่งเสียงอะซาน(เปล่งเสียงเชิญชวนให้เข้าสู่การละหมาด) นิยมสร้างเป็นหอสูงเพื่อกระจายเสียงไปได้ไกล และใช้เป็นหอสังเกตการณ์ได้ด้วย

ทางเข้าอยู่ทางฝั่งตะวันตกฝั่งเดียวกับมัสยิด ทุกคนจะได้รับถุงใช้สวมรองเท้าคนละ 1 คู่

สุสานนี้มีรูปทรงแปดเหลี่ยม กว้าง 58.6 เมตร สูง 73 เมตร ถ้ารวมฐานหินอ่อนด้านล่างด้วยจะสูง 95.16 เมตรโดมขนาดใหญ่ตรงกลางมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 17.7 เมตร สูง 24.4 เมตร  และมีโดมเล็กอยู่ทั้ง 4 มุม 
หออะซานทั้งสี่สูง 43 เมตร

The white marble mausoleum is an octagon. It measures 58.60 m of side for a total height of 73 m. 
It is placed on a base also in marble of 95.16 m. The central dome is 17.70 m in diameter for a height of the arc of 24.4 m. It is lined inside by another dome necessarily smaller, which is still 35 m high from the ground.  Each minaret is 43 m high. 

ทางเข้าชมสุสานเดินตรงไป ตั๋วที่พวกเราซื้อรวมค่าเข้าชมด้านในแล้วไม่ต้องจ่ายเพิ่ม

เดินไปตามด้านข้างฐานของสุสานสูงเหมือนเป็นกำแพงเลยค่ะ

เดินขึ้นบันไดมาก็จะพบกับด้านหน้าสุสานทัชมาฮาล ทางเข้าตรงกลางเป็นหลังคาโค้งสูงขนาดใหญ่
ขนาบด้วยหลังคาโค้งขนาดเล็กทั้งสองด้าน

บริเวณขอบประตูทางเข้าทั้งด้านนอกและด้านในมีการจารึกบทสวดมนต์ที่ผู้จารึกได้คำนวณขนาดของตัวอักษรให้มีความสูงแตกต่างกัน ยืนอยู่มุมไหนก็จะมองเห็นตัวอักษรเหล่านี้มีขนาดเท่ากันและชัดเจน

Arabic calligraphy at the tomb entrance

ด้านในสุสานห้ามถ่ายภาพ มีเจ้าหน้าที่ยืนคุมอยู่รอบๆ

Mumtaz Mahal (wikipedia)

Shah Jahan (wikipedia)

The false sarcophagi of Mumtaz Mahal (right) and Shah Jahan (left) in the main chamber (wikipedia)

The actual tombs of Mumtaz Mahal (right) and Shah Jahan (left) in the lower level. 
Mumtaz's grave does not have a lower slab like that of Shah Jahan. (wikipedia)

ภายในสุสานประดับด้วยหินอ่อนสลักฉลุเป็นลวดลายวิจิตรตระการตา ฝังเสริมด้วยทับทิมและอัญมณี
ตรงกลางใต้หลังคาโดมใหญ่มีแท่นวางหีบศพจำลองที่ทำด้วยหินอ่อน 2 แท่นและมีฉากหินอ่อนฉลุลายกั้นอีกชั้นหนึ่ง โดยที่ศพจริงๆฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบศพด้านบน
เดินชมครบหนึ่งรอบก็ออกมาด้านนอกทางประตูหลังค่ะ

Detail of plant motifs on Taj Mahal wall

เดินชมความงามของลวดลายผนังสุสานด้านนอก ทางฝั่งตะวันตกเป็นมัสยิด

Mosque
The mosque stands along the western wall on the lower platform. It is one of the two grand red sandstone buildings that mirror each other, and face the sides of the tomb. The mosque's basic design of a long hall and three domes,similar to others built by Shah Jahan.
The mosque is 60m long and 30m wide, as is the guest pavilion, symmetrical. 

มัสยิดสร้างด้วยหินทรายสีแดงมีขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร 
มีการสร้างและออกแบบให้สมมาตรกับอาคารฝั่งตะวันออก


The Taj Mahal is located on the right bank of the Yamuna River.

ทัชมาฮาลตั้งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำยมุนา เป็นช่วงโค้งแม่น้ำที่สวยที่สุด

มองไปไกลๆจะเห็นกลุ่มอาคารสีแดงขนาดใหญ่ คือป้อมปราการ พระราชวังอัคราฟอร์ต

ด้านล่างเป็นสวนริมแม่น้ำมีรั้วกั้นยาว

River-front Terrace


Jawab
It is a red sandstone building on the the eastern side of Taj Mahal. It was built with the purpose of counterbalancing the mosque and maintaining the symmetry of the design of the Taj Mahal Complex. 

อาคารสีแดงทางฝั่งตะวันออกมีขนาดและลักษณะเหมือนมัสยิด โดยมีการตกแต่งต่างกันเล็กน้อย
สร้างขึ้นเพื่อให้มีความสมดุลและสมมาตรทางสถาปัตยกรรม ปัจจุบันใช้เป็นเกสต์เฮาส์

Jawab is decorated with beautiful flower designs and is used as a guesthouse. It is exactly as the mosque, except a few differences in decorations and absence of Mihrab and musallah markers.

ผนังของทัชมาฮาลสูงตระหง่านประดับด้วยหินมีค่าที่ฝังอยู่ในหินอ่อนสีขาว โดยมีหินต่างๆมากถึง 28 ชนิด

ทัชมาฮาลเป็นสุสานที่ใช้วัสดุก่อสร้างจากหลายที่ เช่นหินอ่อนจากเมืองชัยปุระ ศิลาแลงจากฟาเตปุรริ พลอยสีฟ้าจากธิเบต พลอยสีเขียวจากอียิปต์ โมราจากคัมภัย เพชรจากฟันนา หินทองแดงจากรัสเซีย หินทรายจากแบกแดด ไพลินจากศรีลังกา เทอร์ควอยซ์จากทิเบต และลาพิส ลาซูลีจากอัฟกานิสถาน


The Taj Mahal’s charbagh (quadrilateral garden) was designed according to Islamic traditions to represent the four gardens of paradise mentioned in the Quran.

The garden is subdivided into four quarters by two main walk-ways and each quarters in turn subdivided by the narrower cross-axial walkways.

เดินลงบันไดไปชั้นล่างค่ะ


The gardens fell into disrepair as the Mughal empire began to fade. By the end of the 19th century, as Britain expanded its influence on the subcontinent, the Taj Mahal came under British jurisdiction.
The trees were cleared and the gardens transformed to resemble the more formal English lawns preferred by the British.

ช่วงปลายศตวรรษที่ 19 สวนด้านในทัชมาฮาลได้มีการจัดแต่งใหม่ตามแบบสวนอังกฤษ

ทางออกอยู่ฝั่งตะวันออก

The facade changes colours throughout the day
 At sunrise, the marble takes on a rosy tint. At noon, it is blindingly white when the sun is hottest.
At sunset, the marble reflects its tangerine shades. At nights the building radiates blue light.

Due to pollution and age, the marble facade of the Taj Mahal is not glistens bright white as it once did.

สีของหินอ่อนแต่ละช่วงเวลาของวันจะมีสีแตกต่างกัน ตอนช่วงสายแดดจัดสีหินอ่อนจะขาวกว่าปกติ


วิวสุสานทัชมาฮาลทางฝั่งตะวันออก

South-eastern view with lawn

Taj Mahal Mausoleum and Mosque

ตอนนี้แดดจัดอากาศร้อนมาก มปหน้าแดงจนแทบจะเป็นลมแล้วค่ะ

เดินกลับไปที่ประตูหลัก


The Main gate is adorned at the corners with octagonal shaped towers which are covered by open domed pavilions. It is also marked by 11 umbrella shaped cupolas which are made up of marbles which constitute the central portion of the gateway.

ประตูหลักสูง 28 เมตร กว้าง 45 เมตร มีหอคอยคู่สองข้าง ด้านบนตรงกลางมียอดโดมเล็กๆ 11 โดม

เดินออกมาด้านนอกประตู นั่งเล่นชมสวนแบบโมกุลที่อยู่ตรงลานกว้างด้านหน้าประตูหลัก

The forecourt Gardens (Jilaukhana meaning : in front of house) 
It was a courtyard feature introduced to mughal architecture by Shah Jahan. 

 The rectangular area divides north-south and east-west with an entry to the tomb complex through the main gate to the north and entrance gates leading to the outside provided in the eastern, western and southern walls.

Southern Gate
It is the largest of all three main gates of the complex. It provides acces from the Taj Ganji quarter of the old city of Agra. It stand on an evelated square measuring 156 ft. 


นั่งเล่นจนหายร้อนแล้วก็เดินออกทางประตูฝั่งตะวันตกค่ะ

Western Gate (Fatehpuri Darwaza)


ทางซ้ายมือคือร้านอาหาร Taj restuarant

จุดหมายต่อไปคือ Agra Fort อากาศร้อนมากเดินไปไม่ไหว นั่งรถตุ๊กตุ๊กไปกันค่ะราคาคันละ 100 INR

ป้อมอัคราอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทัชมาฮาลห่างกันประมาณ 2 กม.

Jhalkaribai Statue

รถตุ๊กตุ๊กที่นี่หน้าตาคล้ายของเมืองไทยเลยค่ะ แต่มีที่นั่งสองแถวหันหน้าชนกัน นั่งกันจนล้นเลย


เวลา 10:00 น. นั่งรถแค่ 5 นาทีก็มาถึงแล้วค่ะ รถส่งตรงประตูทางเข้าเลย

Amar Singh Gate, Agra

Agra Fort Ticket Counter

พวกเราซื้อตั๋วรวมมาแล้ว ใช้ตั๋วเดิมยื่นให้เจ้าหน้าที่ตรวจได้เลย

The Agra fort is a UNESCO World Heritage site. It is about 2.5 km northwest from the Taj Mahal.

อัคราฟอร์ทเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี ค.ศ.1983

Agra Fort is open from Sunrise to Sunset  (about 6:00 am - 6:00 pm)

ตรงประตูทางเข้ามีเจ้าหน้าที่ตรวจกระเป๋าอีกครั้ง ของห้ามเอาเข้าเหมือนที่ทัชมาฮาลเลยค่ะ

Amar Singh Gate
The southern gateway was originally known as "Akbar Darwaza"

เดินผ่านประตูทิศใต้เพื่อเข้าไปด้านในเขตพระราชวัง

แผนผังด้านในพระราชวัง

Lahore Gate (Amar Singh Gate) is only open for tourists entry.

นักท่องเที่ยวเข้าได้ทางประตูนี้เท่านั้น เดินขึ้นเนินไปตามทาง แดดร้อนจัดมากค่ะ

The fort is primarily constructed with red sandstone.
 It’s a blend of architecture influenced by Islamic, Persian and Hindu elements.

อัคราฟอร์ทเป็นป้อมปราการประจำเมือง สร้างเป็นกำแพงหินทรายสีแดง

Agra Fort is the only fort in India, where all early Mughal emperors lived.

ประวัติของอัคราฟอร์ท

ลานเล็กๆหน้าประตูทางเข้า

Baby Care room

เดินผ่านซุ้มประตูโค้งเข้าไปด้านใน

ด้านในเป็นสวนขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยอาคารรหินทรายสีแดงทั้งสี่ด้าน

อาคารสีขาวชั้นเดียวทางขวามือคือท้องพระโรง


ซุ้มทางเดินไปท้องพระโรง


Exterior of Diwan-i-Am 

Hall of Public Audience

The Diwan-e-Aam was built by Shah Jahan between 1631-1640.  
It was the hall where the emperors addressed the general public and listened to their concerns.
 The famous Peacock Throne was kept here back in the day.

The hall measures 60m by 20m. It is divided in to three aisles. The front part of the hall has nine arches. The gateways of the hall are made of red sandstone. The red sandstone building is plastered with white plaster to make it look like marble building. 

ท้องพระโรง เป็นสถานที่สำหรับใช้ออกว่าราชการทั่วไป มีขนาด 60x20 เมตร ด้านหน้ามีซุ้มโค้ง 9 อัน
 เมื่อก่อนเป็นอาคารสีแดงต่อมาได้นำปูนสีขาวมาฉาบทับเพื่อจะได้มีสีเหมือนหินอ่อน
ในท้องพระโรงแห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของบัลลังก์นกยูงทอง (Golden Peacock Throne)

เดินขึ้นไปชั้นบน

Macchi Bhawan

This double-storied building also known as Fish Palace.

Once had a large pool at its centre which was filled with gold fishes and marble fountains. 
The Emperor and Empress spent their time at the pool, being entertained by their newfound friends.

มัคคี ภาวัน เป็นอาคารฮาเร็มสองชั้น ตรงกลางเคยเป็นสระน้ำ บ่อปลาและน้ำพุ

มีห้องเล็กๆหลายสิบห้อง ระเบียงตกแต่งด้วยซุ้มโค้งหินอ่อนสลักลวดลาย

ผนังหินอ่อนของอาคารมีลวดลายนูนต่ำ

On the southern side of the upper storey is a pavilion : Diwan-i-Khas or Hall of Private Audience.

The mansions centre has now been replaced with grass courtyard and lush green gardens.

The marble balcony

เดินชมวิวไปตามระเบียงรอบๆอาคาร


Diwan-i-Khas was built by Shah Jahan in the year 1635 AD. It was used by the emperor for holding cultural events and meetings important guests such as kings, ambassadors and nobles in private and to deal with important affairs of the state.

ท้องพระโรงส่วนพระองค์ ใช้เพื่อต้อนรับกษัตริย์ คณะทูตานุทูต และแขกสำคัญเป็นการส่วนพระองค์

 Muthamman Burj is an octagonal tower that served as Shahjahan’s personal retreat. 
It’s directly connected to Diwan-e-Khaas, Sheesh Mahal, Khaas Mahal and other palaces.

หอคอยทรงแปดเหลี่ยมตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของท้องพระโรง ห้องด้านล่างเป็นที่คุมขังกษัตริย์ชาห์จาฮาน

 The tower offers a majestic view of the Taj Mahal and Shahjahan spent his final years in captivity (of Aurangzeb) here.

หอคอยนี้เป็นสถานที่ชมวิวทัชมาฮาลของกษัตริย์ชาห์จาฮานในช่วงที่ถูกคุมขังจนเสียชีวิต

The surrounding balconies and the elaborate marble pillars.

เดินเข้าไปชมมัสยิดด้านในค่ะ


Mina Masjid was the private shrine of Shahjahan. It’s a small mosque with a simple design devoid of any ornamentation. It’s located near Moti Masjid, and it’s enclosed on all sides by high walls.

มัสยิดมีนา
มัสยิดขนาดเล็กสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวโดยกษัตริย์ชาห์จาฮัน เพื่อใช้เป็นมัสยิดส่วนตัว 

เดินบันไดลงไปชมห้องชั้นล่าง

บันไดในอาคารแคบและชัน

Musamman Burj (Jasmine Palace) 

Musamman Burj (Shah Burj) was built by Shah Jahan as the palace of his beloved queen Mumtaz Mahal. He spent his last days since his son Aurungzeb imprisoned him till his death along with his favorite daughter Jahanara Begum. It is situated at the location where the main wall of the fort takes a turn towards the east.

อาคารหินอ่อนสีขาวด้านบนมีหอคอยแปดเหลี่ยม เป็นที่คุมขังกษัตริย์ชาห์ จาฮานหลังจากถูกพระโอรส(โอรังเซบ)ยึดบัลลังก์ และเป็นห้องที่ท่านใช้ชีวิตในช่วงสุดท้ายยาวนานถึง 8 ปี มองไปยังทัชมาฮาล  ก่อนที่จะสวรรคตบนหอคอยแปดเหลี่ยม

The Musamman Burj is made of delicate marble lattices with ornamental niches so that the ladies of the court could gaze out unseen. The decoration of the walls is pietra dura.The floral inlay work on the pillars and ceilings are still intact. The walls are decorated with polished color stones and jewels.

ด้านในเป็นหินอ่อนตกแต่งลวดลายหรูหราสวยงาม ตรงกลางมีน้ำพุ

Jehangir’s Chain of Justice (Zanjir-i-Adl).

 The chain was setup as a link between the people and Jehangir himself. Standing outside the castle of Agra anyone was free to pull the chain with sixty bells and have a personal hearing from Jahangir himself.

อาคารทางฝั่งตะวันออกสามารถมองเห็นทัชมาฮาลได้เกือบทุกมุมเลยค่ะ

Taj Mahal and River Yamuna

ชมวิวจากระเบียงหินอ่อน


Anguri Bagh (Grape Garden)
Shah Jehan built Anguri Bagh in 1637. There are well-manicured symmetrical gardens with various subdivisions.There is a fountain in the middle of the garden which is the major highlight of this place.

ลานกว้างขนาดใหญ่ที่มีสวนรูปสี่เหลี่ยมสไตล์ Charbagh ตั้งอยู่ตรงข้ามตำหนัก Khas Mahal
มีน้ำพุอยู่ตรงกลางสวน (วันนี้ไม่มีน้ำในบ่อน้ำพุเลยค่ะ)

The garden is on the east of Khas Mahal and the red sandstones arcades on the remaining three sides.

วิวทัชมาฮาลเมื่อมองจากช่องกำแพงหินทรายแดง

ด้านข้างสวนคือตำหนัก Khas mahal

เข้ามาชมในตำหนักส่วนพระองค์ ด้านหน้าคือสวนอันกุรี บักห์ 

The Khas Mahal (Private Pavilion) was built in 1636, served as the Mughal emperor's private residence.

It consists of three parts: the Chamber of Telling Beads (Viz-tasbih-khana), the sleeping chamber, (khwabgah) and the wardrobe (tosha-khana) or sitting room (baithak).

คาสมาฮาลเป็นที่ประทับส่วนตัวของจักรพรรดิโมกุล เป็นอาคารชั้นเดียวด้านในมีสามห้องเชื่อมต่อกัน 
คือห้องบูชา ห้องนอน ห้องนั่งเล่น ตัวอาคารทำจากหินอ่อนแกะสลักงดงาม ผนังโค้งและเพดานเขียนด้วยลวดลายดอกไม้ มีการลงทองในบางส่วน

The interior of this palace is decorated with one of the finest examples of "painting on marbles". 

The richly ornamented ceilings are flat and the complex has stylishly carved and molded brackets.

It use of gold in most of the paintings on the walls and ceilings of the palace and it has faded over time.

Interior with the Stream of Paradise

The Khas Mahal is one of the striking pieces of architectural design within the Agra Fort.

 Decorated with carved white marble painted with colourful floral decorations.

 There exists a beautiful marble screen at the northern end of these rooms carved with a
 "Scale of Justice" suspended over a crescent surrounded with stars and clouds.

The arched recesses of the main hall lead to the side rooms. 

เดินผ่านซุ้มโค้งไปที่ห้องถัดไป

ด้านบนจะมีช่องหน้าต่างลับ ดูผ่านๆจะเหมือนผนังทึบแต่จะมีช่องด้านล่างเอาไว้มองด้านนอกได้

The central hall (baradari) and the adjoining colonnade (portico) is almost of same size. 

ห้องนี้ค่อนข้างทรุดโทรมมีแต่รอยที่คนมาขีดเขียนตามผนัง

แต่ละห้องจะมีลักษณะคล้ายกันคือเพดานโค้งสูง ซุ้มประตูโค้ง มีช่องแสงด้านบน

ด้านนอกกำลังมีการซ่อมแซมตัวอาคารพระราชวังชาห์ฮานกีร์ ห้ามเข้าค่ะ

 Jahangiri Mahal (Jahangir’s Palace) 

It was the principal living complex for the wives of Akbar.
The grand halls surround the courtyards from all corners.

ด้านในพระราชวังจาฮานกีร์กำลังมีการซ่อมแซม พวกเราเลยเดินเล่นถ่ายรูปบริเวณลานชั้นใน

Inner Courtyard of Jahangir Palace

The carvings which have been adorned on them with stone, piers, crossbeams and brackets.

เดินลงบันไดเพื่อออกไปด้านนอกพระราชวังค่ะ

There is a huge bowl called Hauz-i-Jahangiri (Jahangir's Bath). This circular bath bowl is carved out of a single block of granite. It was used as a container for fragrant rose water.

ด้านหน้าทางเข้าพระราชวังมีอ่างอาบน้ำขนาดใหญ่ทำมาจากหินเพียงก้อนเดียวสูงประมาณ 1.2 เมตร

Jahangir Palace (also known as Rani Mahal)
It is one of the most extensively planned and elegantly crafted monuments of the Mughal Era.
The architectural marvel lies in the Agra Fort and was built by the Mughal Emperor Akbar as an exclusive palace for his favorite son, Jahangir.

พระราชวังจาฮานกีร์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในป้อมอัครา เป็นที่พักของผู้หญิงในราชวงศ์

อาคารพระราชวังนี้มีหลายชั้นตั้งอยู่ทางทิศใต้ของป้อมอัครา สร้างจากหินทรายแดงสลักลวดลาย

This is the biggest of all the residential buildings in the Agra Fort.

ด้านหลังคือป้อมปราการมีลักษณะเป็นกำแพงสูงและยาวโดยรอบประมาณ 2.5 กม.

The entire fort is laid out in a semi-rectangular manner , primarily made using red sandstone.  

The Agra red fort has several defensive mechanisms - starting with its 2 km long double wall. 

It double rampants are about 21m high.

กำแพงป้อมมีสองชั้นและสูง 21 เมตร เป็นปราการป้องกันศัตรูที่แน่นหนามาก

 ทั้งสองข้างเป็นกำแพงของป้อมจะเห็นว่าสูงมากเหมือนเดินผ่านช่องเขา

เดินออกทางประตูเดิม

ป้อมอัคราเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุล ก่อนมีการย้ายเมืองหลวงจากอัคราไปเดลี

เวลา 11:30 น.นั่งรถบัสกลับที่พัก

เวลา 12:00 น. ขึ้นไปอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าแล้วลงมาทานอาหารเที่ยงที่ห้องอาหารของโรงแรม

เวลา 13:00 น.เช็คเอ้าท์แล้วออกเดินทางไปเมืองนิวเดลี

จากเมืองอัคราไปถึงเมืองนิวเดลีระยะทาง 200 กม.ใช้เวลาประมาณ 4 ชม.


แม่น้ำยมุนา

เวลา 17:00 น.เดินทางมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี

เช็คอินโหลดกระเป๋าเสร็จก็เข้าไปด้านในเพื่อผ่านตม. ตอนขาออกนี้ผ่านแบบรวดเร็วมากค่ะ
เดินทางกลับด้วยสายการบิน Spicejet SG87 เครื่องดีเลย์ 40 นาที

ไปเดินเล่นที่ดิวตี้ฟรีซื้อของฝาก

เวลา 18:30 น.เข้ามารอที่เกท

พระอาทิตย์เริ่มตก

ราคาน้ำดื่มที่ตู้หยอดเหรียญ

เวลา 19:00 น.ทานอาหารเย็นกันค่ะ

มาที่นี่ต้องลองทาน KFC รสชาติอินเดียค่ะ อร่อยดีแต่รสไม่เข้มข้นเหมือนเมืองไทย
ทานอาหารเสร็จก็ไปนั่งรอที่เกท เครื่องออกเวลา 22:00 น.

วันอังคารที่ 18 เมษายน 2566
เวลา 04:00 น.เดินทางถึงเมืองไทยโดยสวัสดิภาพ