TUKEMD

__TUKEMD__ชื่อบ้าน อ่านว่า ตุ๊ก-เอ็ม-ดี นะจ๊ะ เป็นชื่อในเน็ตของแม่ตุ๊กเองค่ะ

บ้านหลังน้อย หลังนี้เป็นของแม่ตุ๊ก,น้องมะปราง และ คุณป๋า

เป็นบล็อกเพื่อบันทึกความสุข ความทรงจำ ในการท่องเที่ยวที่ต่างๆของครอบครัวเราค่ะ



2561/01/01

1.ทะเลบัวแดง กุมภวาปี,พิพิธภัณฑ์บ้านเชียง

วันศุกร์ที่ 29 ธันวาคม 2560

เวลา 13:30 น.มารอขึ้นเครื่องเพื่อเดินทางไปเที่ยวอุดรธานี
 เที่ยวบินไลอ้อนแอร์บินตรงหาดใหญ่-อุดรธานี วันนี้เสียเวลา 1 ชั่วโมงค่ะ
เวลา 14:30 น.ออกเดินทางไปอุดรธานี


เวลา 16:30 น.เดินทางมาถึงสนามบินอุดรธานี รับกระเป๋าเสร็จก็รีบออกไปรับรถเช่าที่ด้านหน้าอาคาร

ออกเดินทางต่อไปยัง อ.กุมภวาปี ขับรถไปตามถนนมิตรภาพลงใต้ประมาณ 50 กม. 
เลี้ยวเข้าสู่ บ้านเดียม ต.เชียงแหว มีป้ายบอกตลอดทาง 


เวลา 17:30 น.เดินทางมาถึงที่พักอยู่ริมทะเลบัวแดงเลยค่ะ


รีสอร์ตนี้เพิ่งเปิดใหม่และอยู่ใกล้ท่าเรือที่สุด สามารถจอดรถไว้หน้าบ้านพักได้เลย


ห้องด้านในกว้างและใหม่ ประตูกระจกอันใหญ่มองออกไปเห็นทะเลบัวแดงอยู่หลังห้องเลยค่ะ

ยืนชมวิวที่ระเบียงหลังห้องพัก


เก็บของเสร็จก็ออกไปเดินเล่นก่อนจะมืด ด้านหลังคือท่าเรือบ้านเดียม


ที่นี่เป็นสถานที่จัดชมทะเลบัวแดงที่ใหญ่ที่สุดของ จ.อุดรธานี 1 ปีมีแค่ครั้งเดียว


เดินเล่นที่สะพานริมบึง แดดร่มอากาศไม่ร้อนแล้วค่ะ


รอชมพระอาทิตย์ตกดิน




เวลา 19:00 น.ทานอาหารเย็นที่ร้านอาหารในรีสอร์ทนี้เลยค่ะ เมนูง่ายๆแต่อร่อยดี



วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2561
เมื่อคืนรีบเข้านอนแต่หัวค่ำเพราะวันนี้พวกเราจะออกไปชมบัวแดงแต่เช้า

ฟ้าสีสวยมากๆ  พระอาทิตย์เริ่มขึ้นแล้วค่ะ


เวลา 6:00 น.อาบน้ำแต่งตัวเสร็จรีบเดินไปที่ท่าเรือเลยค่ะ มีเรือจอดเรียงหลายสิบลำ


คุณป๋าเหมาเรือลำใหญ่ 1 ลำ จะได้นั่งสบายๆ ลำละ 500 บาท ออกเดินทางได้เลยไม่ต้องรอคิว

เรือกว้างดีค่ะ มีเสื้อชูชีพครบ 

แหล่งน้ำขนาดใหญ่แห่งนี้คือ บึงหนองหานกุมภวาปี 

อากาศตอนเช้าเย็นสบายมากค่ะ สดชื่นที่สุด


เรือหางยาวลำเล็กแบบนี้ลำละ 300 บาท นั่งได้แค่ 2 คน

เรือลำใหญ่แบบนี้ดีตรงที่กว้าง ขยับตัวถ่ายรูปได้ทุกมุม ปลอดภัยเรือไม่เอียง


บึงหนองหานกุมภวาปี เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ใน อ.กุมภวาปี 
บางส่วนอยู่ใน อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี


ทะเลสาบน้ำจืดนี้มีพื้นที่ 22,500 ไร่ หรีอ 36 ตารางกิโลเมคร ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย 
รองจากบึงบอระเพ็ด (นครสวรรค์) และทะเลสาบหนองหาน (สกลนคร) 


วัดกลางน้ำ หรือวัดดอนหลวง ตั้งอยู่กลางบึงเลยค่ะ



เวลาที่เหมาะจะมาชมบัวบานคือ เวลา 6:00-11:00 น.

มาแต่เช้าก็จะได้ชมพระอาทิตย์ขึ้นสวยๆแบบนี้ด้วยค่ะ




ต้องนั่งเรือออกมาประมาณ 10 นาทีจะถึงสถานที่ชมดอกบัว


ดอกบัวเริ่มบานตอนเช้า มีแดดอ่อนๆ


เรือทุกลำต้องวิ่งไปตามทาง จะได้ไม่ทำลายกอบัว



เรือจะจอดให้ชมความงามตามที่ๆกำหนด

ดูไกลๆก็สวยมากค่ะ


เหมือนพรมสีชมพู



ดอกบัวจะเริ่มบานประมาณเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ของทุกปี แต่ช่วงเดือนมกราคมจะบานเต็มที่สุด

ในบึงนี้มีดอกบัว 3 สายพันธุ์คือ บัวสาย บัวเผื่อน และบัวหลวง

บัวแดงที่มีมากที่สุดในบึงนี้คือบัวสาย




ที่เรียกว่าบัวแดงจริงๆแล้วไม่ใช่สีแดงนะคะ แต่เป็นสีชมพูเข้ม

ยิ่งแสงแดดกระทบตอนเช้าแบบนี้เป็นบึงสีชมพูมากๆเลยค่ะ



ดอกบัวที่อยู่ริมๆจะช้ำมากเพราะโดนใบพัดเรือตี


เรือทุกลำต้องดับเครื่องยนต์แล้วค่อยๆพายเข้าไปถึงจะถ่ายรูปดอกบัวได้ใกล้ชิดแบบนี้


บัวสายสีชมพู

มองระยะไกลๆดอกบัวสีสวยหวานมากๆถ่ายรูปกันระรัวหลายรูปหน่อยค่ะ




ก้านบัวสายสามารถนำมาทำอาหารได้


พอสายหน่อยก็เริ่มมีเรือมาหลายลำแล้วค่ะ




ตอนนี้แดดเริ่มจัด ได้เวลากลับแล้วค่ะ

พวกเราใช้เวลาในการนั่งเรือชมทะเลบัวแดงนี้ประมาณ 1.5 ชั่วโมงค่ะ

เรือมาส่งให้ขึ้นอีกท่าหนึ่ง จะได้ไม่วุ่นวาย


ยืนชมวิวที่ศาลาริมท่าเรือ

เดินออกมาที่ถนนริมบึง ทางขวามือคือสะพานไม้เดินข้ามไปที่ลานจอดรถ

สุดปลายสะพานคือวัดมหาธาตุเทพจินดา


ลงจากสะพานเลี้ยวขวาไปนิดก็ถึงวัดแล้วค่ะ แต่พวกเราไม่ได้ไป

เดินกลับไปที่ท่าเรือ


ศาลารอเรียกลงเรือค่ะ


เรือออกไปหมดแล้ว คนที่มาสายก็ต้องนั่งคอยตามคิว


พวกเรามาแต่เช้าไม่ต้องรอคิวและอากาศก็ไม่ร้อนด้วย


เวลา 8:00 น.กลับไปทานอาหารเช้าที่รีสอร์ท(ฟรีค่ะ รวมในค่าที่พักแล้ว)
เมนูคือไข่กระทะ และก๋วยจั๊บญวน


อร่อยทุกอย่างค่ะ


แผนที่เที่ยวรอบๆทะเลบัวแดง


ทานอาหารเสร็จก็ออกไปเดินเล่นที่ตลาดนัดข้างหน้ารีสอร์ทค่ะ


เวลา 9:30 น.ออกเดินทางไปบ้านเชียง ระยะทาง 40 กม.

เวลา 10:30 น.เดินทางมาถึง ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี

สัญลักษณ์ของเมืองนี้


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง


แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2535 


 อาคาร สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
เป็นอาคารศูนย์รวมส่วนบริการต่างๆ ได้แก่ จุดประชาสัมพันธ์และจำหน่ายบัตรเข้าชม ห้องประชุม
 และห้องจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียน

ช่วงวันหยุดปีใหม่ ทางพิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีค่ะ สามารถสแกน QR code ตรงนี้ก่อนเดินชม
ข้อมูลของพิพิธภัณฑ์อ้างอิงจากเวปไซต์ : พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบ้านเชียง จ.อุดรธานี


 ห้องนิทรรศการพิเศษ

วันนี้มีแต่พวกเราสามคนมาเดินชมพิพิธภัณฑ์ บรรยากาศเงียบมากเลยค่ะ
เดินต่อไปยังอาคารถัดไป


อาคาร กัลยาณิวัฒนา
เป็นอาคารจัดแสดงนิทรรศการหลัก ประกอบไปด้วยส่วนจัดแสดงย่อยจำนวน 9 ส่วน


ส่วนจัดแสดงที่ 1 : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับบ้านเชียง

ส่วนจัดแสดงนี้บอกเล่าถึงการเสด็จประพาสในปีพ.ศ. 2515 ซึ่งนำพาความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ในการศึกษาและการพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และแหล่งอื่นๆ ในประเทศไทย พระราชปุจฉาซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถามเมื่อคราวเสด็จนั้นถูกนำมาจัดแสดงในส่วนนี้เพื่อเกริ่นนำถึงขั้นตอนการศึกษาทางด้านโบราณคดีเบื้องต้น


ส่วนจัดแสดงที่ 2 : การดำเนินงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง
นำเสนอลำดับเวลาการศึกษาทางด้านโบราณคดีในบ้านเชียง โดยเน้นเหตุการณ์สำคัญ รวมถึงบุคลากรที่มีส่วนสำคัญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ


ส่วนจัดแสดงที่ 3 : การปฏิบัติงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง


แสดงถึงขั้นตอนการทำงานและการศึกษาระหว่างการขุดค้นโดยนักโบราณคดีระหว่างปี พ.ศ. 2517-2518 เช่น การแบ่งประเภทและวิเคราะห์โบราณวัตถุที่พบ รวมถึงวีดีทัศน์บทสัมภาษณ์ชาวบ้านในท้องถิ่น


การหาอายุกระดูกด้วยวิธีคาร์บอน-14





การหาอายุภาชนะดินเผาด้วยวิธีเทอร์โมลูมิเนสเซนส์

ส่วนจัดแสดงนี้ตั้งอยู่ล้อมรอบหลุมโบราณคดี

เดินลงไปที่ส่วนจัดแสดงด้านล่าง


ส่วนจัดแสดงที่ 4 บ้านเชียง : หลุมขุดค้นทางโบราณคดี


ฉากและบรรยากาศจำลองแสดงสภาพหลุมขุดค้นระหว่างปี พ.ศ.2517-2518

 โดยผู้เข้าชมสามารถเยี่ยมชมและสังเกตขั้นตอนการทำงานภายในหลุมขุดค้นจำลองอย่างใกล้ชิด




รูปภาพแสดงขั้นตอนการปฎิบัติงานทางโบราณคดีที่บ้านเชียง






ส่วนจัดแสดงที่ 5 : โบราณวัตถุจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีใน




โบราณวัตถุที่ถูกพบในหลุมขุดค้นวัดโพธิ์ศรีใน ถูกนำมาจัดแสดงในส่วนจัดแสดงนี้ โดยแบ่งออกตามสมัยของวัฒนธรรมบ้านเชียง ทั้ง 3 สมัย เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และเครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติ แก้ว หิน และโลหะ


มีป้ายเขียนบรรยายทุกจุด ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ






Valcan : วัลเคน : การฝังศพในสมัยแรก


ส่วนจัดแสดงที่ 6 : วัฒนธรรมบ้านเชียงยุคก่อนประวัติศาสตร์

จัดแสดงฉากจำลองและโบราณวัตถุเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง โดยจำลองบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในช่วงสมัยดังกล่าว





รูเจาะที่กะโหลกศรีษะ อาจเป็นการรักษาตามความเชื่อสมัยก่อน

เครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด

ลายที่พบบนภาชนะดินเผาบ้านเชียง

ส่วนจัดแสดงที่ 7 บ้านเชียง:การค้นพบยุคสำริดที่หายสาบสูญ

นิทรรศการนี้ถูกดัดแปลงมาจากนิทรรศการที่ถูกจัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเพื่อการจัดแสดงในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศสิงคโปร์ โดยมีอธิบายการศึกษาทางโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีปโดยสังเขปจนถึงการค้นพบวัฒนธรรมในยุคสำริดที่แหล่งบ้านเชียง





ไหบรรจุศพเด็กสมัยแรก

สมัยกลางมีการฝังศพแบบใหม่ คือทุบภาชนะดินเผาเนื้อบางสวยงามไว้เหนือศพ

ส่วนจัดแสดงที่ 8 บ้านเชียง:มรดกโลก



จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับเลือกเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี พ.ศ. 2535 ตามหลักเกณฑ์การพิจารณาข้อที่ 3 เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”





ส่วนจัดแสดงที่ 9 : การกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียง
จัดแสดงโบราณวัตถุที่ถูกพบระหว่างการสำรวจจากแหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ใกล้เคียงกับพื้นที่แหล่งบ้านเชียงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อศึกษาการกระจายตัวของวัฒนธรรมบ้านเชียง


ปัจจุบันมีการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมบ้านเชียงจำนวน 127 แหล่ง
กระจายตามลุ่มน้ำสำคัญในจังหวัดอุดรธานี สกลนคร และหนองคาย

แหล่งโบราณคดีบ้านโคกคอน จ.สกลนคร

พวกเราใช้เวลาในการเดินชมพิพิธภัณฑ์ร่วม 2 ชั่วโมงโดยไม่เบื่อเลยค่ะ
อยากให้คนมาเยี่ยมชมมากๆเพราะจัดได้ดี สถานที่สะอาดเย็นสบาย

 มีร้านขายของที่ระลึกและห้องน้ำอยู่ตรงทางออก



ด้านนอกพิพิธภัณฑ์มีร้านขายเครื่องปั้นดินเผา และ ของฝาก

เวลา 12:00 น.ทานอาหารเที่ยงที่ร้านอาหารด้านหน้าพิพิธภัณฑ์

ทานอาหารเสร็จก็ออกเดินทางต่อค่ะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น